วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning log 7


23 September 2019



Study atmosphere







\


















EF หรือ Executive Functions จะประกอบด้วย ทักษะ 9 ด้าน คือ

กลุ่มทักษะพื้นฐาน
    1. Working memory = ความจำที่นำมาใช้งาน หรือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
    2. Inhibitory Control = ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรองควบคุมแรงอยาก หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูด
    3. Shiftingหรือ Cognitive Flexibility = ความสามารถในการยืดหยุ่น พลิกแพลง ปรับตัว เป็นจุดตั้งต้นของการคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์

กลุ่มทักษะกำกับตนเอง
    4. Focus Attention = ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
    5. Emotional Control = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียว ขี้หงุดหงิดง่าย จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
    6. Self-Monitoring = คือ การประเมินตนเองรวมถึงสะท้อนผลการทำงาน เพื่อหาจุดบกพร่อง แล้วแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมาย ให้เป็นขั้นตอน รวมถึงรู้ตัวว่า กำลังทำอะไร  ได้ผลอย่างไร

กลุ่มทักษะปฏิบัติ
    7. Initiating = ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
    8. Planning and Organizing = การวางแผนและดำเนินการตั้งแต่ตั้งเป้าหมาย เห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ จนถึงการดำเนินการ และประเมินผล
    9. Goal- Directed Persistence = ความพากเพียรให้บรรลุเป้าหมายมุ่งมั่น ฝ่าฟันอุปสรรคและล้มแล้วลุกได้ เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่นไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

        ทักษะเหล่านี้ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เพื่อให้เกิดการ “ฝังชิป” เป็นโครงสร้างในสมองของเด็ก โดยเฉพาะในวัย 3-6 ปี ซึ่งเมื่อฝังตัวแล้วก็จะคงอยู่เป็นนิสัยหรือคุณสมบัติของบุคคลไปตลอดชีวิต

การดูแลลูกที่ถูกต้องในวัยที่สำคัญ เป็นการพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ
    ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น
        Inhibitory Control  หัดให้ลูกรอ ไม่ใช่ว่าลูกอยากได้อะไร ต้องได้เดี๋ยวนั้น ตอนนั้น
        Shift/Cognitive Flexibility ฝึกให้ลูกรู้จักยืดหยุ่นเมื่อผิดหวัง เช่น ลูกอยากกินแอปเปิ้ล แต่ไม่มี ก็จะถามลูกว่าเปลี่ยนเป็นองุ่น หรือ ส้มแทนได้มั้ย
        Focus/Attention  ฝึกและให้เวลาลูกเล่นในสิ่งที่ชอบให้ได้ช่วงระยะเวลานึง อ๊อตโต้ชอบเล่น Lego เค้าจะสามารถนั่งต่อได้คนเดียวเป็นเวลานานเลยทีเดียว ถือว่าฝึกสมาธิไปในตัว
        Initiating  ตั้งเป้าหมายและให้ลงมือทำ เช่น วันนี้จะล้างรถ + รดน้ำต้นไม้ ก็ต้องฝึกให้เค้าทำตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ด้วย
        Planning/Organizing อันนี้ฝึกง่ายเลย เวลาทำขนมกับลูก บุ๊งมักจะแพลนว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง เวลาเราแพลน ก็บอกลูกไปด้วยว่า ก่อนจะต้มน้ำเชื่อม ต้องตอกไข่ก่อน แยกไข่แดงออกจากไข่ขาวให้เรียบร้อย แล้วค่อยต้มน้ำ เป็นต้น

การศึกษาวอลดอร์ฟ
      หลักสูตรการเรียนการสอนได้ถูกออกแบบให้ตรงกับความต้องการของเด็กในแต่ละช่วงวัยเพื่อตอบสนองพัฒนาการ ของเขา ครูมีอิสระในการทำงานภายใต้แนวทางนี้ที่จะนำ เสนอวิธีการสอนโดยใช้สื่อการสอนในรูปแบบของตัวเอง เพื่อตอบสนองเป้าหมายที่กระตุ้นให้เด็กเกิดความกระตือ- รือร้นในการเรียน ส่งเสริมให้เขาค้นพบและเรียนรู้ด้วยตัว เองและด้วยวิธีการนี้เด็กๆ จะได้รับการศึกษาผ่าน มือ หัวใจ และสมอง (3 Hs = Hands, Heart, Head) ด้วยความสามารถจากการลงมือทำ การสัมผัสด้วยใจ และการใช้ศักยภาพในการคิด

งานหลักของโรงเรียนวอลดอร์ฟ คือ การเตรียมการศึกษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ให้แก่นักเรียน ไม่เพียงแค่เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ แต่มีอิสระจากภายใน มีความมั่นคง และเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสร้างสรรค์

หลักสูตรและวิธีการสอน
     การศึกษาวอลดอร์ฟ จะเริ่มการเรียนรู้อย่างเป็นรูปแบบเมื่อเด็กอายุ 6 หรือ 7 ปี ก่อนหน้านั้นเด็กๆ จะอยู่ในชั้นอนุบาล
วัยอนุบาล จะเน้นการปลูกฝังและให้ความสำคัญในเรื่องความดี เด็กๆ จะถูกกระตุ้นและส่งเสริมให้คิดดีทำดี และในช่วงวัยนี้เด็ก เป็นยอดนักเลียนแบบ พวกเขาดูดซับสิ่งต่างๆ รอบตัวดังฟองน้ำ ทั้งเรื่องดีและเรื่องไม่ดีที่อยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งจะเป็นบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาตัวเขาในอนาคต ในชั้นเรียนอนุบาลจะให้ความสำคัญกับการมีตัวอย่างที่ดีให้เด็กได้เลียนแบบ และแวดล้อมด้วยสิ่งที่สวยงามเพื่อให้เขาซึมซับ ห้องเรียนจะมีแสงที่อ่อนโยน พร้อมด้วยเครื่องเรือนไม้แบบง่ายๆ ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ลูกสน เปลือกหอย ตุ๊กตาทำมือ และผ้าคลุมหลากสี จะช่วยให้เด็กได้พักประสาทสัมผัสที่ถูกกระตุ้นจากโลกภายนอก และจากการเล่นของเล่นธรรมชาติเหล่านี้ เด็กๆ ซึ่งยังอยู่ในสภาวะกึ่งฝันจะเริ่มรู้สึกตัวและซาบซึ้งต่อความงามในธรรมชาติ
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเล่นของเล่น “ที่ไม่สมบูรณ์” เช่น ตุ๊กตาทำมือซึ่งมีเพียงส่วนประกอบหลักๆ มีส่วนสำคัญที่จะช่วยในการพัฒนาจินตนาการให้แข็งแรง เช่นเดียวกับกระดาษแข็งจากกล่องเก่าๆที่สามารถเล่นได้เป็นชั่วโมงๆโดยการใช้เจตจำนงด้านจินตนาการอย่างเต็มที่ เด็กๆจะเปลี่ยนลูกสนเป็นเงิน ขนมปัง หรือ เศษไม้ หรือ อะไรก็ได้ที่พวกเขาต้องการในการเล่นนั้นๆ แนวทางของสไตเนอร์มีความแตกต่างจากกระแสที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบันที่มักให้ของเล่นสำเร็จรูปแก่เด็ก ของเล่นสำเร็จรูปที่หาได้ทั่วไปเหล่านี้จะไม่มีพื้นที่สำหรับเด็กในการพัฒนาจินตนาการเลย


การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร (Cooking) สำหรับ เด็กปฐมวัย
    การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย หรือที่เรียกว่า “ Cooking ” เป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและเรียนรู้การทำงานอย่างเป็นกระบวนการผ่านการทำอาหาร ช่วยให้เด็กรู้จักวางแผนในการจัดเตรียมวัตถุดิบที่หลากหลาย โดยเน้นการใช้กล้ามเนื้อมือและนิ้วมือในการลงมือปฏิบัติจริง จากการทำกิจกรรมประกอบอาหารตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ตลอดจนได้เรียนรู้และรู้จักอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการประกอบอาหาร ช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดและพัฒนาทักษะอย่างสมดุล ทั้งยังปลูกฝังให้เด็กมีพฤติกรรมด้านสุขอนามัย และโภชนาการที่ดีอีกด้วย

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
ในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น คุณครูและผู้ปกครองสามารถกำหนดเป็นขั้นตอนอย่างง่าย ดังตัวอย่างที่ผู้เขียนกำหนดเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นนำ
เด็กช่วยคิดหาเมนูอาหารที่สนใจร่วมกับคุณครูหรือผู้ปกครอง และสนทนาเกี่ยวกับวัตถุดิบ ส่วนผสม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร ว่ามีอะไรบ้าง

2. ขั้นปฏิบัติ
มื่อเด็กได้จัดเตรียมวัตถุดิบและส่วนผสมที่จะนำมาปรุงอาหารในเมนูที่คิดแล้ว ให้ช่วยกันล้าง หั่น และปรุงสุก ทั้งนี้ ก่อนการประกอบอาหาร ให้คุณครูและผู้ปกครองแนะนำขั้นตอนในการทำอาหาร พร้อมทั้งแนะนำวิธีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับเด็ก เพื่อความปลอดภัยทุกครั้งที่ทำกิจกรรมด้วยค่ะ

3. ขั้นสรุป
เมื่อเด็กทำการประกอบอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เด็กเล่าประสบการณ์การทำงานและขั้นตอนการทำงานว่าทำอย่างไร แล้วช่วยกันสรุปว่าเมนูที่ทำนั้นมีสีสัน กลิ่น รสชาติ เป็นอย่างไร ส่วนผสมและเครื่องปรุงใส่อะไรไปเท่าไหร่ รวมทั้งเครื่องปรุงแต่ละชนิดมีรสชาติเป็นอย่างไร เป็นต้น

ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
    กิจกรรมการประกอบอาหาร หรือกิจกรรม Cooking เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน สร้างความตื่นเต้นและเป็นสิ่งเร้าในการจัดการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก การจัดกิจกรรมนี้ จะไม่เน้นในผลงานของอาหารที่ทำสำเร็จ แต่อยู่ที่กระบวนการและขั้นตอนในการทำกิจกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็ก ดังนี้

1.ส่งเสริมทักษะด้านร่างกาย
การที่เด็กได้หั่นผัก หั่นผลไม้ ตักเกลือหรือน้ำตาลใส่ลงในหม้อ เทเครื่องปรุงและส่วนผสมลงไปในกระทะ การปั้นแป้งทำขนมหรือแม้กระทั้งการล้างผักหรือล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น ล้วนเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับเด็ก นอกจากนี้ยังช่วยฝึกในเรื่องการประสานสัมพันธ์มือและตาของเด็กให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ

2.ส่งเสริมทักษะด้านอารมณ์
เด็กจะได้ฝึกการควบคุมอารมณ์และรอคอย เช่น เด็กบางคนใจร้อน อยากให้อาหารสุกเร็ว ๆ แต่ถ้าเอาอาหารออกจากเตาก่อนเวลา ก็จะได้กินอาหารที่ไม่สุก เป็นการให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง ว่าทำไมต้องรอ ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

3.ส่งเสริมทักษะด้านสังคม
เด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม ผ่านการทำงานร่วมกับผู้อื่นหรือการทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ พัฒนาการสื่อสารระหว่างกัน เด็ก ๆ จะได้วางแผนและรู้จักการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการแบ่งปัน มีน้ำใจ ช่วยเหลือและมีพฤติกรรมการเอื้อเฟื้อ มีความรับผิดชอบ รู้จักการปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเองอีกด้วยค่ะ

4.ส่งเสริมทักษะด้านภาษา
เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ จากวัตถุดิบ อุปกรณ์ และส่วนผสมที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ถ้วย ชาม กระทะ เตาอบ ผักกาด แครอท น้ำปลา น้ำตาล เป็นต้น นอกจากนี้เด็ก ๆ ยังได้พัฒนาทักษะการพูดและการฟัง ผ่านการพูดคุยสนทนาตอบโต้กับคุณครูหรือผู้ปกครอง และเพื่อน ๆ หรือการแสดงความคิดเห็นในระหว่างการทำกิจกรรม Cooking

5.ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์
เด็กจะได้เรียนรู้และสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบ เมื่อนำมาปรุงจนสุกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น เกลือ น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ ถ้าใส่มากจะมีรสชาติอย่างไร ใส่น้อยจะมีรสชาติอย่างไร นอกจากนี้ ยังได้ฝึกฝนทักษะการเปรียนเทียบ การจำแนกประเภท การจัดกลุ่มของวัตถุดิบและส่วนผสมที่ใช้ในการประกอบอาหาร

6.ส่งเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์
เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะด้านคณิตศาสตร์ จากการชั่ง ตวง วัดเครื่องปรุง และส่วนผสมต่าง ๆ การเรียงลำดับ การนับจำนวน และการกะปริมาณ

7.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
การให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดจานอาหาร เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางผัก การราดซอสและการจัดเรียงผลไม้ นอกจากนี้การให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมในการเลือกเมนูอาหาร ก็ถือเป็นการกระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กอีกด้วยค่ะ

8.ช่วยกระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
กิจกรรมการประกอบอาหาร จะช่วยกระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสของเด็กได้เป็นอย่างดี เช่น 
“ตา” มองเห็นวัตถุดิบและส่วนผสมต่าง ๆ “มือ” ได้สัมผัสผิวของวัตถุดิบ ผักและผลไม้ต่าง ๆ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร 
“หู” ฟังคำสั่งและคำแนะนำจากคุณครูหรือผู้ปกครอง ว่าขั้นตอนถัดไปคืออะไร ต้องทำอะไรต่อ เสียงสับหมู เสียงเครื่องครัวทำงาน
“จมูก” ได้กลิ่นของอาหาร กลิ่นของเครื่องปรุงต่าง ๆ 
“ปาก” ชิมรสชาติของวัตถุดิบ เช่น เกลือมีรสเค็ม น้ำตาลมีรสหวาน หรือชิมเพื่อรู้ว่าอาหารที่ทำมีรสชาติอย่างไร ต้องเติมรสชาติไหนจึงจะได้รสอย่างที่ต้องการ

9.ช่วยสร้างสุขนิสัย สุขอนามัย และโภชนาการ
เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการและอาหารหลัก 5 หมู่ เช่น การทำผัดผักรวม เด็กจะเรียนรู้ว่าผักมีประโยชน์ให้วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เนื้อหมูให้สารอาหารประเภทโปรตีน และไขมัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยสอนให้เด็กเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และช่วยปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการรับประทานอาหารให้กับเด็ก

    การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารนอกจากจะช่วยส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความคิดรวบยอด ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากรูปธรรม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัย
    กระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เกิดได้จากสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวของเด็กเป็นหลัก ดังนั้น การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การเรียนรู้โดยการให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง (การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง) ทั้งนี้ คุณครูหรือผู้ปกครองควรเป็นผู้จัดหากิจกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็ก ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำและรับประสบการณ์ที่หลากหลายด้วยตัวเด็กเอง จะช่วยพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของเด็กให้มากขึ้น

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้วใจเรียนดีค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ยกตัวอย่างให้นักศึกาาเข้าใจง่าย และสนุกในการตอบคำถามค่ะ







วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning log 6


18 September 2019

Study atmosphere



















การสอนแบบไฮสโคป (High/Scope)
    การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคน  การเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว  การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก  6  ขวบแรก  เป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแล  และสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัด  ลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็ก  ใจเด็ก  และอนาคตเด็ก   การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้  แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ  พัฒนาสมรรถนะทางปัญญา  และพัฒนาจิตนิยมที่ดี  การเรียนการสอนสำหรับปฐมวัย มีหลากหลายรูปแบบ  แต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง  รูปแบบการเรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือ  รูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮสโคป

แนวคิดสำคัญ
    แนวการสอนแบบไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย  ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

การเรียนการสอน
    การเรียนการสอนแบบไฮสโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง  โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3  ประการ  คือ
    -การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก  ว่าจะทำอะไร อย่างไร  การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก  เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
    -การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา  ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง  เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง
    -การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์  ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่  มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร  และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ  และผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ การที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ  จะทำให้เด็กสนุกกับการทกงาน  การทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข

สรุป
    การเรียนการสอนแบบไฮสโคป  สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกกิจกรรม เพราะกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเปิดกว้างมีการคิดการปฏิบัติ ตามวงจรของการวางแผน  การปฏิบัติ และการทบทวนเมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจ  จุดสำคัญอยู่ที่ประสบการณ์การเรียนรู้เด็กควรได้รับระหว่างกิจกรรม  ซึ่งครูต้องมีปฏิสัมพันธ์และกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมให้มากที่สุด
   
 การเรียนการสอนทุกรูปแบบต่างก็ส่งผลต่อเด็กในการเรียนรู้  แต่สิ่งที่มุ่งหวังให้เด็กได้รับอย่างน้อยต้องส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคมและสติปัญญา เพื่อการเรียนรู้ที่ดีและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้มีความคิดอิสระสร้างสรรค์  ริเริ่ม  ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบจะมีจุดเน้นสำคัญของรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ


   
 ครู คือบุคคลที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  หากรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องภาวะการเรียนรู้ของเด็กและครูมีความเข้าใจในรูปแบบการเรียนการสอน ก็จะเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น


การสอนแบบ Project Approach
    การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้

การเรียนการสอน
ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน

วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
  • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
  • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
  • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
  • ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน


การสอนแบบ“STEM”
    สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่
  1. เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ
  2. ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ 
  3. เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
  4. ท้าทายความคิดของนักเรียน
  5. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา 


จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 
    คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน  


ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟัง และตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากที่นักศึกษานำเสนอแต่ละกลุ่มได้ชัดเจนทำให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ


วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning log 5


September 2019
Study atmosphere















การเคลื่อนไหวจังหวะ
การเคลื่อนไหวจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตาม จังหวะ โดยใช้เสียงเพลงคำคล้องจองการปฏิบัติตามสัญญาณ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือเสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก ตีฉิ่ง กลอง ระนาด ฯลฯ มาประกอบการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิกสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาใช้ส่วนต่างๆ ร่างกายยังคงมาผสมผสาน หรือประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์มากนัก การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กอาจยังดูไม่มั่นคง

การเคลื่อนไหวมีลักษณะ ดังนี้
1. ช้า ได้แก่  การคืบ คลาน                                           2. เร็ว ได้แก่  การวิ่ง                       
3. นุ่มนวล  ได้แก่  การไหว้  การบิน                              4. ขึงขัง   ได้แก่  การกระทืบเท้าดังๆ  ตีกลองดังๆ
5. ร่าเริงมีความสุข  ได้แก่  การตบมือ  การหัวเราะ       6. เศร้าโศกเสียใจ  ได้แก่  สีหน้า  ท่าทาง ฯลฯ

ทิศทางการเคลื่อนไหว
1. เคลื่อนไหวไปข้างหน้า  และข้างหลัง            2. เคลื่อนไหวไปข้างซ้าย และข้างขวา
3. เคลื่อนตัวขึ้นลง                                             4. เคลื่อนไหวรอบทิศ

รูปแบบการเคลื่อนไหว
    1. เคลื่อนไหวพื้นฐานได้แก่ การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของเด็กมี 2 ประเภท
1.1   เคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ ตบมือ ผงกศีรษะ  ขยิบตา ชันเขา เคาะเท้า เคลื่อนไหวมือและแขน มือและนิ้ว เท้าและปลายเท้า
1.2   การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่  ได้แก่  คลาน คืบ เดิน วิ่ง  กระโดด ควบม้า
ก้าวกระโดด
    2. การเลียนแบบมี 4 ประเภท
2.1 เลียบแบบท่าทางสัตว์
2.2 เลียบแบบท่าทางคน
2.3 เลียนแบบเครื่องยนต์กลไกล และ เครื่องเล่น
2.4 เลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติ
    3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางประกอบเพลง เช่น เพลง ข.ไข่ หรือเพลงตามสมัยนิยม เป็นต้น
    4. การทำท่าทางกายบริหารประกอบเพลง ได้แก่  การทำท่าทางกายบริหารตามจังหวะและประกอบเพลง หรือคำคล้องจ้อง
    5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ ท่าทางขึ้นเองอาจชี้นำโดยการป้อนคำถามเคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ห่วงยาง แถบผ้า บัตรคำ ริบบิ้น ฯลฯ
    6. การเล่นหรือการทำท่าทางตามคำบรรยาย เรื่องราว ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางตามจินตนาการจากเรื่องราวหรือคำบรรยายที่ผู้สอน เล่า
    7. การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลงได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทาง ตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม
    8. การฝึกท่าทางเป็นผู้นำ ผู้ตามได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเองแล้วให้เพื่อนปฏิบัติตามกิจกรรม
คลิปการสอน




ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ และเข้าเรียนตรงเวลา

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเข้าใจและให้นักศึกษาได้ทดลองสอน

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning log 4


2  September 2019
Study atmosphere



















ทักษะ EF มีทั้งหมด 9 ด้าน ดังนี้
    1. ทักษะการจำเพื่อใช้งาน  (Working Memory)
คือการดึงข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่จำและเก็บไว้มาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
    2. ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibition)
คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
    3. ทักษะยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility)
ความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดเดิม ๆ
    4. ทักษะควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
    5. ทักษะจดจ่อใส่ใจ (Focus/Attention)
คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
    6. ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
คือการรู้จักตนเอง รู้ว่าทำอะไรคิดอะไร สามารถประเมินหาข้อบกพร่องได้
    7. ทักษะริเริ่มและลงมือทำ (Initialing)
คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด กล้าทำ ไม่กลัวความล้มเหลว
    8. ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ (Planning and Organizing)
คือ ทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน และการมองเห็นภาพรวม
    9. ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
คือ ความพากเพียรและอดทนมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้


กิจกรรมการเคลื่อนไหว ที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย ได้แก่ กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น การร้องเพลง การเล่นกับเครื่องเคาะจังหวะดนตรีอย่างง่าย เป็นต้น เด็กจะสนุกกับกิจกรรมที่เขาได้ฟังจังหวะ ได้ใช้ภาษาในการร้องเพลง กิจกรรมการเคาะเครื่องเคาะจังหวะดนตรีจึงเป็นพื้นฐานของเด็กในการที่จะพัฒนาการดนตรีของเขาให้ดีขึ้นในอนาคต เด็กมีความสามารถ รู้จักเครื่องเคาะจังหวะแต่ละประเภท สามารถเรียกชื่อได้ถูกต้องโดยครูหมุนเวียนให้เด็กทุกคนได้ใช้เครื่องเคาะจังหวะในแต่ละรอบของการร้องเพลง เด็กๆ ส่งเสียงร้องเพลงให้แตกต่างจากเสียงพูด พวกเขาตจะร้องเพลงได้ชัดเจนไม่เพี้ยน รู้จักจังหวะ เร็ว-ช้า พลังเสียง ดัง-เบา เด็กจะเกิดสมาธิในการฟังและการจำแนกเสียง


กิจกรรมการเคลื่อนไหว ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านสุขภาพและพลานามัยของเด็กปฐมวัย
การเล่นเครื่องดนตรีหรือการร้องเพลงของเด็กไม่เพียงแต่นั่งร้องหรือขับร้องเท่านั้น แต่เด็กทุกคนขอบ และพอใจที่จะทำท่าทางประกอบไปด้วย เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยชอบเปลี่ยนอิริยาบถของการเคลื่อนไหว กระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะท่วงทำนองของเพลง ดังนั้นครูจึงสามารถใช้เพลงและดนตรีเป็นสิ่งเร้าเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่การเคลื่อนไหวกับดนตรี การเคลื่อนไหวหรือการเต้นรำ เป็นการส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็ก แขน ขา ลำตัว นิ้วมือ และส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เคลื่อนไหวไปตามจังหวะดนตรี อีกทั้งเป็นการช่วยพัฒนาให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง และพลานามัยที่สมบูรณ์ อันจะเป็นผลเชื่อมโยงไปสู้จุดมุ่งหมายทางการศึกษาปฐมวัย ที่มุ่งให้เด็กปฐมวัยพัฒนาครบทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งทักษะด้านคิดแก้ปัญหา และทักษะชีวิตที่เด็กได้รับความรู้ประสบการณ์ซึ่งจะช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลาและไม่เล่นมือถือ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย