วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning log 4


2  September 2019
Study atmosphere



















ทักษะ EF มีทั้งหมด 9 ด้าน ดังนี้
    1. ทักษะการจำเพื่อใช้งาน  (Working Memory)
คือการดึงข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่จำและเก็บไว้มาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
    2. ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibition)
คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
    3. ทักษะยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility)
ความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดเดิม ๆ
    4. ทักษะควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
    5. ทักษะจดจ่อใส่ใจ (Focus/Attention)
คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
    6. ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
คือการรู้จักตนเอง รู้ว่าทำอะไรคิดอะไร สามารถประเมินหาข้อบกพร่องได้
    7. ทักษะริเริ่มและลงมือทำ (Initialing)
คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด กล้าทำ ไม่กลัวความล้มเหลว
    8. ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ (Planning and Organizing)
คือ ทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน และการมองเห็นภาพรวม
    9. ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
คือ ความพากเพียรและอดทนมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้


กิจกรรมการเคลื่อนไหว ที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย ได้แก่ กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น การร้องเพลง การเล่นกับเครื่องเคาะจังหวะดนตรีอย่างง่าย เป็นต้น เด็กจะสนุกกับกิจกรรมที่เขาได้ฟังจังหวะ ได้ใช้ภาษาในการร้องเพลง กิจกรรมการเคาะเครื่องเคาะจังหวะดนตรีจึงเป็นพื้นฐานของเด็กในการที่จะพัฒนาการดนตรีของเขาให้ดีขึ้นในอนาคต เด็กมีความสามารถ รู้จักเครื่องเคาะจังหวะแต่ละประเภท สามารถเรียกชื่อได้ถูกต้องโดยครูหมุนเวียนให้เด็กทุกคนได้ใช้เครื่องเคาะจังหวะในแต่ละรอบของการร้องเพลง เด็กๆ ส่งเสียงร้องเพลงให้แตกต่างจากเสียงพูด พวกเขาตจะร้องเพลงได้ชัดเจนไม่เพี้ยน รู้จักจังหวะ เร็ว-ช้า พลังเสียง ดัง-เบา เด็กจะเกิดสมาธิในการฟังและการจำแนกเสียง


กิจกรรมการเคลื่อนไหว ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านสุขภาพและพลานามัยของเด็กปฐมวัย
การเล่นเครื่องดนตรีหรือการร้องเพลงของเด็กไม่เพียงแต่นั่งร้องหรือขับร้องเท่านั้น แต่เด็กทุกคนขอบ และพอใจที่จะทำท่าทางประกอบไปด้วย เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยชอบเปลี่ยนอิริยาบถของการเคลื่อนไหว กระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะท่วงทำนองของเพลง ดังนั้นครูจึงสามารถใช้เพลงและดนตรีเป็นสิ่งเร้าเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่การเคลื่อนไหวกับดนตรี การเคลื่อนไหวหรือการเต้นรำ เป็นการส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็ก แขน ขา ลำตัว นิ้วมือ และส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เคลื่อนไหวไปตามจังหวะดนตรี อีกทั้งเป็นการช่วยพัฒนาให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง และพลานามัยที่สมบูรณ์ อันจะเป็นผลเชื่อมโยงไปสู้จุดมุ่งหมายทางการศึกษาปฐมวัย ที่มุ่งให้เด็กปฐมวัยพัฒนาครบทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งทักษะด้านคิดแก้ปัญหา และทักษะชีวิตที่เด็กได้รับความรู้ประสบการณ์ซึ่งจะช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลาและไม่เล่นมือถือ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น