วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning log 6


18 September 2019

Study atmosphere



















การสอนแบบไฮสโคป (High/Scope)
    การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคน  การเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว  การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก  6  ขวบแรก  เป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแล  และสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัด  ลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็ก  ใจเด็ก  และอนาคตเด็ก   การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้  แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ  พัฒนาสมรรถนะทางปัญญา  และพัฒนาจิตนิยมที่ดี  การเรียนการสอนสำหรับปฐมวัย มีหลากหลายรูปแบบ  แต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง  รูปแบบการเรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือ  รูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮสโคป

แนวคิดสำคัญ
    แนวการสอนแบบไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย  ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

การเรียนการสอน
    การเรียนการสอนแบบไฮสโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง  โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3  ประการ  คือ
    -การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก  ว่าจะทำอะไร อย่างไร  การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก  เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
    -การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา  ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง  เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง
    -การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์  ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่  มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร  และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ  และผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ การที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ  จะทำให้เด็กสนุกกับการทกงาน  การทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข

สรุป
    การเรียนการสอนแบบไฮสโคป  สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกกิจกรรม เพราะกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเปิดกว้างมีการคิดการปฏิบัติ ตามวงจรของการวางแผน  การปฏิบัติ และการทบทวนเมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจ  จุดสำคัญอยู่ที่ประสบการณ์การเรียนรู้เด็กควรได้รับระหว่างกิจกรรม  ซึ่งครูต้องมีปฏิสัมพันธ์และกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมให้มากที่สุด
   
 การเรียนการสอนทุกรูปแบบต่างก็ส่งผลต่อเด็กในการเรียนรู้  แต่สิ่งที่มุ่งหวังให้เด็กได้รับอย่างน้อยต้องส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคมและสติปัญญา เพื่อการเรียนรู้ที่ดีและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้มีความคิดอิสระสร้างสรรค์  ริเริ่ม  ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบจะมีจุดเน้นสำคัญของรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ


   
 ครู คือบุคคลที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  หากรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องภาวะการเรียนรู้ของเด็กและครูมีความเข้าใจในรูปแบบการเรียนการสอน ก็จะเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น


การสอนแบบ Project Approach
    การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้

การเรียนการสอน
ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน

วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
  • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
  • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
  • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
  • ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน


การสอนแบบ“STEM”
    สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่
  1. เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ
  2. ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ 
  3. เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
  4. ท้าทายความคิดของนักเรียน
  5. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา 


จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 
    คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน  


ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟัง และตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากที่นักศึกษานำเสนอแต่ละกลุ่มได้ชัดเจนทำให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น